วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การจัดการโซ่อุปทาน และการประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน


สิริยุพา เลิศกาญจนาพร

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันระหว่างกันสูง อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ ความเจริญของเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตและดำเนินต่อไปได้อย่างมั่นคง ผู้ประกอบการจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้วยการรับเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางธุรกิจต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อลดต้นทุนการผลิต(Production Cost) ลดระยะเวลานำ(Lead Time) และลดระดับสินค้าคงคลัง(Inventory Level) เพื่อให้บริษัทมีผลกำไร ขณะเดียวกันก็ต้องการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าและบริการ(Quality Improvement) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Demand responsiveness) ให้ได้สูงสุด ด้วยเหตุผลดังกล่าว การจัดการโซ่อุปทานจึงเป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากธุรกิจ

แนวคิดเกี่ยวกับโซ่อุปทาน (Supply Chain) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
โซ่อุปทาน เป็นแนวคิดที่เกิดจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่ ที่ไม่สามารถดำเนินไปได้ลำพังโดยปราศจากความสัมพันธ์กับธุรกิจรอบข้าง จำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือระหว่างกันทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระยะยาว
สำหรับคำนิยามของการจัดการโซ่อุปทาน มีผู้เสนอคำนิยามไว้ดังนี้
Ganeshan et. al. (1995) นิยามคำว่าโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ว่าเป็นเครือข่ายของสิ่งอำนวยความสะดวกและทางเลือกของช่องทางการกระจายสินค้าหรือบริการที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ และแปรรูปวัตถุดิบไปเป็นงานระหว่างผลิตและสินค้าสำเร็จรูป ตลอดจนการกระจายสินค้าสำเร็จรูปเหล่านั้นไปสู่ลูกค้า และยังระบุว่าโซ่อุปทานพบได้ทั้งในภาคการผลิตและภาคบริการ
Lambert, et. al (1998) นิยามคำว่า Supply Chain หรือโซ่อุปทาน ว่าเป็นการจัดเรียงของบริษัท (Alignment of Firms) เพื่อนำผลิตภัณฑ์และบริการเข้าสู่ตลาด
Chopra, et. al (2001) กล่าวถึงโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ว่าประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อเติมเต็ม(Fulfill) ความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ โซ่อุปทานมิได้หมายถึงเฉพาะแค่ผู้ผลิตและผู้จัดหาวัตถุดิบ(Supplier) เท่านั้น หากแต่รวมถึงผู้ขนส่งสินค้า, ผู้ค้าปลีกและตัวลูกค้าเองอีกด้วย
Mentzer et. al. (2001) นิยามโซ่อุปทานหรือ Supply Chain ว่าเป็นกลุ่มของธุรกิจตั้งแต่ 3 ธุรกิจขึ้นไป ที่มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของการไหลของสินค้า บริการ การเงิน และข้อมูลระหว่างกัน โดยเริ่มตั้งแต่แหล่งกำเนิดสินค้าหรือบริการผ่านไปยังผู้บริโภค   และได้แบ่ง  Supply Chain  ออกเป็น  3  ระดับ คือ  Direct Supply Chain , Extended Supply Chain  และ  Ultimate Supply Chain  

ระดับที่ 1 : Direct Supply Chain  
ประกอบด้วยกลุ่มของ 3 ธุรกิจหรือมากกว่าที่มีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่ต้นทาง (ผู้จัดหา) ผ่านคนกลาง (ผู้ผลิตสินค้าและบริการ) ไปจนถึงปลายทาง (ลูกค้า)  ทั้งในส่วนของการส่งผ่านของสินค้า  บริการ  การเงิน และข้อมูลระหว่างกัน

ระดับที่ 2 : Extended Supply Chain  
เป็นการขยาย Direct Supply Chain  ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งระดับ  โดยมีการเพิ่มคนกลางทั้งในส่วนของผู้จัดหาและส่วนของลูกค้า ซึ่งเมื่อโซ่อุปทานมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น การบริหารจัดการโซ่อุปทานก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย 
ระดับที่ 3 : Ultimate Supply Chain 
เป็นกลุ่มของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกันทั้งที่อยู่ต้นทางและปลายทาง  โดยการส่งผ่านสินค้าและบริการ จะเริ่มต้นจากผู้จัดหารายแรกสุด (Ultimate Supplier)  ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย  (Ultimate Customer)
Council of Supply Chain Management Professionals (CSCMP) (2005) ได้นิยามการจัดการโซ่อุปทานไว้ว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนและการบริหารจัดการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การจัดซื้อจัดหา การแปรรูป และกิจกรรมโลจิสติกส์ทุกๆ กิจกรรม ซึ่งรวมถึงการประสานงานกัน  (Coordination)  และการร่วมมือกัน  (Collaboration)  ระหว่างผู้จำหน่ายวัตถุดิบ  ตัวกลาง    ผู้ให้บริการขนส่ง  และลูกค้า ด้วยเหตุนี้การจัดการโซ่อุปทานจึงเป็นการบูรณาการจัดการอุปสงค์และอุปทานที่เกิดขึ้นทั้งภายในองค์กรธุรกิจและระหว่างธุรกิจ
โซ่อุปทาน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเครือข่ายขององค์ประกอบที่จะเอื้ออำนวยกระบวนการธุรกิจ ซึ่งเริ่มจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ กระบวนการแปรรูปจากวัตถุดิบเป็นสินค้าและการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภค โซ่อุปทานที่สมบูรณ์ต้องประกอบด้วยบริษัทผู้ประกอบการทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเคลื่อนไหลของสินค้า บริการ เงินทุน และข้อมูลจากซัพพลายเออร์รายแรกที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าไปสู่ผู้บริโภค (รุธิร์ พนมยงค์, 2548)
จากความหมายของโซ่อุปทานตามคำนิยามที่ถูกนำเสนอข้างต้น สามารถสรุปความหมายโดยรวมของโซ่อุปทานหรือ supply chain ได้ว่า โซ่อุปทานเป็นเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันทั้งด้านการเงิน ข้อมูล สินค้าหรือบริการ โดยเริ่มตั้งแต่ผู้จัดหารายแรกสุด ผ่านคนกลาง ไปจนกระทั่งถึงลูกค้าซึ่งเป็นผู้บริโภครายสุดท้าย ส่วนการบริหารโซ่อุปทานเป็นการจัดการเครือข่ายในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า ขณะเดียวกันก็ใช้ต้นทุนในการดำเนินการต่ำสุด

การประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทาน (Performance Measurement in Supply Chain)
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีการนำเสนอบทความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎี และการปฏิบัติงานในโซ่อุปทาน แต่ประเด็นที่เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในโซ่อุปทานยังมีค่อนข้างน้อย ทั้งที่การประเมินประสิทธิภาพเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กร ช่วยให้มีการบริหารผลการปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และสามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดความก้าวหน้าของการดำเนินงานได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบเป้าหมาย  เพื่อให้ผู้บริหารมีโอกาสปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
ในการจัดการโซ่อุปทาน การประเมินประสิทธิภาพสามารถช่วยทำให้เกิดความเข้าใจและรับรู้ถึงสถานการณ์ระหว่างสมาชิกในโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ทราบถึงประสิทธิผลของกลยุทธ์ และระดับความสำเร็จในธุรกิจ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุทาน พบว่า Beamon (1999) ได้แบ่งกลุ่มการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ การวัดเชิงคุณภาพ (Qualitative) และการวัดเชิงปริมาณ (Quantitative) นอกจากนี้ยังจัดชนิดการประเมินประสิทธิภาพออกเป็น 3 ประเภท คือ ทรัพยากร(Resources)  ปัจจัยนำออก(Output) และความยืดหยุ่น (Flexibility)
ต่อมา Gunasekaran (2001)  พัฒนากรอบแนวคิดในการประเมินประสิทธิภาพของโซ่อุทานโดยจำแนกการประเมินประสิทธิภาพออกเป็น  3 ระดับ ได้แก่ ระดับกลยุทธ์(strategic) ระดับบริหาร(tactical) และระดับปฏิบัติการ(operational) จากนั้นแบ่งมิติที่ใช้วัดประสิทธิภาพในแต่ละระดับออกเป็น 2 ส่วน คือการวัดผลที่เป็นตัวเงิน(Financial) และการวัดผลที่ไม่เป็นตัวเงิน(Non-financial)  และได้พัฒนากรอบแนวคิดในการประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทานดังกล่าวให้อยู่ภายใต้กรอบของกิจกรรมหลักภายในโซ่อุปทานตามแนวคิด SCOR Model 4 ประการ คือ การวางแผน(Plan) การจัดหา(Source) การผลิต(Make) และการส่งมอบ(Deliver) (Gunasekaran,2004)
นอกจากการประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทานด้วยการวัดผลเชิงคุณภาพ และปริมาณแล้ว ยังมีงานศึกษาที่นำเสนอเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทานในลักษณะอื่น Larry(2000) เสนอแนะแนวทางในการประเมินประสิทธิภาพของโซ่อุปทานไว้ 5 ชนิด ได้แก่ 1.การประเมินองค์กรแบบสมดุล(Balance Scorecard)  2.แบบจำลองโซ่อุปทาน (SCOR Model)  3.The Logistics Scoreboard  4.ต้นทุนกิจกรรม (Activity-Based Costing ; ABC) 5. การวิเคราะห์มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Analysis ; EVA) สอดคล้องกับที่ J.P.CKleijnen, et.al. (2003) ใช้ Balance Scorecard และ BSC and simulation เป็นเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทาน สามารถสรุปโครงสร้างของดัชนีวัด และมิติที่ใช้ประเมิน ได้ตามตาราง 1

ตาราง 1 : โครงสร้างของดัชนีชี้วัดและมิติที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพโซ่อุปทาน
โครงสร้างของดัชนีวัด
มิติ
ดัชนีชี้วัด
ที่มา
ROF
Resource




Output







Flexibility

-Total cost
-Distribution costs
-Manufacturing costs
-Inventory
-Return on investment 
-Sales
-Profit
-Fill rate
-On-time deliveries
-Backorder / Stockout
-Customer response time
-Manufacturing lead time
-Shipping errors
-Customer complaints
-Volume flexibility
-Delivery flexibility
-Mix flexibility
-New product flexibility
Beamon(1999)
F-NF
Financial and Non-financial

Gunasekaran(2001)
Hierarchy
Strategic, Tactical , Operation

Gunasekaran(2001)
SCOR Model
Plan Source Make Deliver

Larry(2000) Gunasekaran(2004)
Balance Scorecard
Financial perspective
Customer perspective
Internal business perspective
Innovative and learning perspective

Larry(2000)
J.P.C.Kleijnen(2003)
Logistics Scoreboard
Logistic financial performance measures
Logistic productivity measures
Logistics quality measures
Logistics cycle time measures

Larry(2000)
Activity-Based Costing


Larry(2000)
Economic Value Analysis


Larry(2000)
ที่มา : ผู้วิจัย


5.บรรณานุกรม
[1]         Beamon, B. M., 1999, “Measuring supply chain performance”, Journal of Operations & Production Management, Vol. 19, 275-292.
[2]         Choprva, sunil, and Peter Meindl, 2001, “Supply Chain Management : Strategy,Planning and Operations”, Upper Saddle River,NJ:Prentice-Hall,Inc.
[3]         Ganeshan, Ram and Terry P. Harrison, 1995, ” An Introduction to Supply Chain Management”,http://mason.wm.edu/faculty/ganeshan_r/documents/intro_supply_chain.pdf
[4]         Lambert, DouglasM., Jame R.Stock, and LisaM.Ellram, 1998, “Fundamentals of Logistics Management”, Boston,MA:Irwin/McGraw-Hill.
[5]         Larry Lapide, 2000, “What About Measuring Supply Chain Performance?”, Achieving Supply Chain Excellence through Technology, Volume 2, April 15, 2000.
[6]         Martin Schiefelbusch, Angela Jain, Tanja Schafer, Diana Muller, 2007, “Transport and tourism : roadmap to integrated planning developing and assessing integrated travel chains.
[7]         Mentzer, J.T., DeWitt, W., Keebler, J.S., Min, S., Nix, N.W., Smith, C.D., Zacharia, Z.G., 2001, "Defining supply chain management", Journal of Business Logistics, Vol. 22 No.2, pp.1-25.
[8]         OntarioBuys, 2006, “Performance measurement : a report by the hospital supply chain metrics working group”, pp.1-30.
[9]         Xinyan Zhang, Haiyan Song, George Q.Huang, 2009, “Tourism supply chain management : A new research agenda”, Tourism Management, Vol.30 pp.345-358.
[10]       Yildirim Yilmaz, Umit S.Bitici, 2006, “Performance measurement in tourism : a value chain model”, International Journal of Contemporary Hospitality Management, Vol.18 No.4, pp.341-349.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น