วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผ่าม่าน “ความกลัว” ประสบการณ์กลางสนามความรุนแรง



พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ [1]

“ไม่กลัวเหรอ? อยู่ยันกรุงเทพฯ ยังมาถึงที่นี่อีก ไม่มีใครเขามากันแล้ว”
“เปลี่ยนเรื่องทำได้มั้ย หรือไม่ก็ไปทำที่อื่น เก็บข้อมูลที่อื่น เหนือ อีสาน อะไรโน่น จะมาเสี่ยงทำไมที่นี่? ลูกของพี่ยังไม่อยากให้เขากลับมาอยู่นราฯ เลย”
“ทำไมต้องมาทำที่สามจังหวัดนี่ด้วย?”
“น้องกลับไปสอนหนังสือที่กรุงเทพเหมือนเดิมเถอะ อย่ามาอีกเลย มันอันตราย ไม่กลัวหรืองัย?”
“ไม่เข้าใจ ทำไมพี่เห็นเขาโฆษณาว่าเรียนปริญญาเอกสองปี สามปีจบฟังดูแล้วท่าทางมันไม่เห็นต้องมาทำอะไรยากๆ เหมือนเรา (ผู้วิจัย) ทำเลย แล้วนี่ทำไมต้องมาทำอะไรเสี่ยงๆ อย่างนี้ล่ะ น่ากลัวก็น่ากลัวนะ มันไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว”
เฮ้ย เธอจะมาทำไมอีกว้า สถานการณ์ตอนนี้มันน่ากลัวมากขึ้นอีกแล้วนะ ช่วงนี้มันชักก่อเหตุในเมืองมากขึ้น บ่อยขึ้นนะ ชั้นเองยังเสียวๆ สันหลังเลยอยู่ที่นี่น่ะ ขนาดว่าคุ้นเคยและรู้ช่องทางหนีทีไล่พอสมควรแล้วนะ”
“มีคนกลุ่มนี้อยู่ด้วยหรือ?”  
“คาทอลิกน่ะเร๊อะ! มีกี่คน จะคุ้มมั้ยกับการจะไปศึกษาน่ะ กลัวว่าจะไม่มีเหลือให้ศึกษาจนจบน่ะซิ”
ฯลฯ
สารพัดคำถาม คำทัดทาน กระทั่งคำขู่กลายๆ ทั้งจากเพื่อน พ่อแม่พี่น้องคนรอบข้าง รวมตลอดไปถึงผู้ให้ข้อมูลในสนามวิจัยจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่วันแรกที่บอกกับใครๆ ว่าจะทำวิจัยเรื่องคาทอลิกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจะค้นหาว่า “คนกลุ่มน้อย” ต่างศาสนากลุ่มนี้ “อยู่อย่างไร?” ในขณะที่ข่าวคราวความรุนแรงทางหน้าสื่อมวลชน (mass media) ทั้งไทยและเทศโหมกระพือความรุนแรงให้แพร่สะพัด และเขย่าขวัญผู้คนที่ได้รับรู้ผ่านสื่อต่างๆ เหล่านั้นให้ถูกเกาะกุมด้วย “ความกลัว” จนบางครั้งผู้เขียนเองก็ตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่า “กลัว” หรือเปล่า?
แน่นอนว่าในฐานะนักเรียนปริญญาเอก ที่ขาข้างหนึ่งเคยก้าวเข้าไปในอาณาบริเวณของห้องเรียนมานุษยวิทยา  แม้จะช่วงสั้นๆ แต่ก็ตระหนักว่า การเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ รวมทั้งความรู้จากห้องเรียนมานุษยวิทยาที่บอกว่า นักมานุษยวิทยานั้นนอกจากจะเป็นผู้ตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบจากผู้ให้ข้อมูลในสนามแล้ว บ่อยครั้งที่นักมานุษยวิทยาก็ถูกกลุ้มรุมด้วยคำถามจากสนามด้วย ทั้งรู้มาก่อนแล้วเลาๆ แต่เมื่อเจอกับสารพัดคำถามเข้า บางครั้งผู้เขียนเองก็อึ้ง และต้องนั่งตรึกตรองเมื่อมีโอกาส
โดยเฉพาะเมื่อตั้งกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเป็นกลุ่มคนที่มีตัวตน มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะที่ “คนกลุ่มน้อย” ทั้งทาง “จำนวน” และทางการนับถือ “ศาสนา” นั่นคือ กลุ่มคาทอลิกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังไม่ค่อยมีใครรับรู้ว่ามีคนกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทั้งคนกลุ่มนี้ก็ดูเหมือนจะเก็บตัวเงียบๆ ไม่ประสงค์จะเผยตัวให้ใครรู้จักเท่าใดนัก
และถึงแม้ว่ากลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์และเข้าไปมีประสบการณ์ร่วมในการใช้ชีวิตประจำวันอันดับแรกของผู้เขียนคือ กลุ่มคาทอลิกซึ่งมีจำนวนน้อยนิดมากในพื้นที่ แต่ก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกต และวิ่งเข้าหาโอกาสที่จะได้พูดคุยกับคนไทยพุทธ คนมุสลิมในพื้นที่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ตลาดสด ร้านน้ำชากาแฟ หน้าโรงเรียน และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ สุดแต่ว่า “โอกาส” จะมาถึงเมื่อใด ที่ไหนก็ตามผู้เขียนจะไม่ยอมติดกับดักของความกลัวเด็ดขาด  ตรงกันข้ามความกล้าบ้าบิ่นและความกลัวว่าจะไม่ได้ข้อมูลติดมือกลับมาเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้สำเร็จเป็นแรงผลักดันให้วิ่งผ่าม่านหมอกของความกลัวไปได้ทุกครั้ง 
อย่างไรก็ดี ท่ามกลาง “ความกลัว” ของใครๆ ก็ตามที่ได้ยินเรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เขียนอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า “ความกลัว” ที่เกิดขึ้นนั้นมันมี “การเมืองของความกลัว” (politics of fear) พรางกายอยู่ด้วยหรือไม่?  
ทั้งนี้ จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน เมื่อจะเดินทางไปอำเภอสุคีริน จ.นราธิวาสเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 แค่เอ่ยชื่อจังหวัดนราธิวาสเพื่อถามหาตั๋วเครื่องบินเท่านั้น พนักงานขายตั๋วก็ทำท่าทางตกใจกลัวขึ้นมาทันทีและย้อนถามผู้เขียนเพื่อความแน่ใจว่า “จะไปนราธิวาสจริงๆ หรือ?” ครั้นเมื่อเดินทางกลับมาจากการเก็บข้อมูลรอบดังกล่าว ผู้เขียนอาศัยรถแท็กซี่จากสนามบินสุวรรณภูมิให้มาส่งที่บ้าน คนขับรถแท็กซี่ถามผู้เขียนว่าเดินทางมาจากไหน พอตอบคำถามไปว่ามาจากนราธิวาส เขาก็แสดงท่าทางตกใจ จ้องมองผู้เขียนทางกระจกพร้อมๆ กับบอกว่า “น่ากลัว ไปทำไม เป็นคนนราธิวาสหรือเปล่า?”
ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนรู้สึก “แย่” เห็นจะเป็น เมื่อปลายเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2554  ที่ผ่านมา เมื่อผู้เขียนไปตลาดหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อหาซื้อเสื้อผ้าใส่เพิ่มเติม เนื่องจากเสื้อผ้าที่นำไปไม่พอใช้  เหตุมาจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ไม่เปิดโอกาสให้เสื้อผ้าที่ซักตากไว้ได้มีโอกาสแห้งทันใส่นั่นเอง
ที่ร้านขายเสื้อผ้าดังกล่าว เจ้าของร้านเป็นผู้หญิงไทยพุทธวัยประมาณ 40 ต้นๆ เห็นจะได้ ระหว่างที่ผู้เขียนเลือกเสื้อผ้า ผู้เขียนก็จะชวนคุยและซักถามเรื่องราวต่างๆ ไปด้วย เธอคงเห็นว่าผู้เขียนไม่ใช่คนแถวปัตตานีหรือใน 3 จังหวัดเป็นแน่ เธอจึงตั้งคำถามกลับว่า “มาจากไหน” พอผู้เขียนตอบกลับไปว่า “จากกรุงเทพฯ” เท่านั้นแหล่ะ เธอก็ระบายเรื่องราวให้ฟังเป็นชุดๆ เรื่องหนึ่งที่สะดุดใจผู้เขียนคือ “นอกจากความกลัวของคนอื่นๆ ที่มีต่อคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังมี “ความเกลียดชัง” ที่เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า เธอมาซื้อเสื้อผ้าจากกรุงเทพฯ เพื่อนำมาขายที่ปัตตานี แม่ค้าที่ประตูน้ำถามเธอว่าจะเอาไปขายที่ไหน พอเธอตอบว่า จะเอาไปขายที่ปัตตานี เท่านั้นแหล่ะ แม่ค้าร้านที่เธอจะซื้อเสื้อผ้าก็บอกว่า “พวกตัวสร้างปัญหาให้ประเทศชาติ พวกก่อความเดือนร้อนวุ่นวายให้ประเทศ ดูซิงบประมาณแทนที่จะมาพัฒนาประเทศต้องไปทุ่มให้สามจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาผู้ก่อการแบ่งแยกดินแดน อยู่เมืองไทยสบายๆ ไม่เอา ถ้าไม่อยากอยู่เมืองไทยก็ไปอยู่ที่อื่น”  (แม่ค้า 27 มีนาคม 2554)
เรื่องเล่าจากปากของแม่ค้าขายเสื้อผ้าจากปัตตานีคนเดิมอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นม่านความกลัวที่ปกคลุมไม่เพียงผู้คนที่อยู่ภายนอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกติดป้ายว่าเป็นดินแดนแห่งความรุนแรงเท่านั้น  เธอเล่าว่า “ทุกวันนี้ พวกเด็กมุสลิมสาวๆ ในปัตตานีนี่ก็กลัวเหมือนกัน กลัวไม่ได้งาน เดี๋ยวนี้หลายคนพอเรียนจบจะไปสมัครงาน เขาจะมาซื้อเสื้อผ้าชุดทำงานที่ร้านพี่และร้านคนไทยพุทธอื่นๆ ซื้อกระโปรงสั้นๆ เลยนะ แล้วเวลาไปสมัครงานเขาก็จะถอดผ้าคลุมออก เพราะถ้าใส่ไปแล้วไม่ค่อยมีใครอยากจะรับเข้าทำงานหรอก แล้วพวกนี้เขาก็จะไปสมัครงานแถวๆ หาดใหญ่กันเยอะ เวลาไปสมัครงานเห็นเขาแต่งตัวแล้วต้องตกใจแหล่ะ นุ่งกระโปรงสั้นๆ (เน้นเสียง) แล้วก็ไม่คลุมผ้า บางทีคนที่พี่สนิทๆ กับเขาด้วย พี่ก็ถามเขาเหมือนกันว่าทำไมไม่คลุมผ้า แล้วนุ่งสั้นๆ อย่างนั้นมันผิดไม่ใช่เหรอ แต่เขาบอกว่า ถ้าไม่แต่งตัวอย่างนี้ก็ไม่ได้งานหรอก ใครๆ เขาก็กลัวมุสลิม กลัวคนในสามจังหวัดนี่กันทั้งนั้น เด็กๆ เขาบอกมาอย่างนั้นน่ะ พี่ก็เออเข้าใจ เพราะเวลาเขามาซื้อผ้าที่ร้านพี่ เขาจะถามหากระโปรงแบบสั้นมากๆ จนพี่ก็อดถามไม่ได้น่ะ”
“ความกลัว” ที่แม้แต่ชื่อของจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งในสามที่เอ่ยเอื้อนขึ้นมาครา ก็ทำเองขวัญและกำลังใจของผู้ฟังต้องสั่นสะเทือนด้วยแทบทุกผู้คนนั้น ใครสร้างขึ้นมา และมันดำรงอยู่อย่างไร ทั้งยังน่าสงสัยอีกว่า ผลที่เกิดจากการสร้างความกลัวนั้น นอกจากทางจิตวิทยาแล้ว ผลในทางการเมืองด้านอื่นๆ มีหรือไม่ อย่างไร เพราะความในใจของแม่ค้าขายเสื้อผ้าที่บ่งบอกว่า “ความกลัว” นำไปสู่อย่างน้อยก็ “ความเกลียดชัง” ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน อย่าว่าจะสร้างความขัดแย้งต่อกัน กรณีของแม่ค้าเสื้อผ้าจากปัตตานีรายนี้เธอเป็นผู้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับแม่ค้าที่ประตูน้ำด้วยซ้ำไป และเรื่องเล่าเรื่องที่สองสะท้อนให้เห็นอีกมุมหนึ่งของ “ความกลัว” ในลักษณะที่มันมีอำนาจ และมีผลก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ โดยเฉพาะการยอมสละทิ้งอัตลักษณ์ของหญิงมุสลิม ที่พวกเธอต้องยอมละเมิดต่อกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางศาสนาบางอย่างเป็นการชั่วคราวเพื่อนายจ้างจะได้ไม่ “กลัว” พวกเธอ และจะรับพวกเธอเข้าทำงาน

การเมืองของความกลัว (Politics of Fear)
เมื่อกล่าวถึง “ความกลัว” Frank Furedi บอกว่า “ความกลัว” มีอิทธิพลครอบงำชี้นำชีวิตทางสังคมของผู้คนได้ และการเมืองของความกลัวเป็นอาการของโรคชนิดหนึ่งที่บ่งบอกลักษณะของความอ่อนแอและหลบลี้หนีออกจากชีวิตทางสังคมการเมือง (Frank Furedi, 2005)
David L. Altheide (2006) เขียน “Terrorism and the Politics of Fear” เอาไว้โดยเฉพาะในประเด็นที่เขาตั้งคำถามว่า “ความกลัว” ถูกประกอบสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ เป็นเงื่อนไขของบรรดาผู้นำทางการเมืองในการสร้างความชอบธรรมในการออกกฎเกณฑ์ มาตรการ หรือนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมสังคม ความเป็นอยู่ของผู้คนพลเมือง และวัฒนธรรม  โดยที่ผู้คนในสังคมยินยอมที่จะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านั้นเพื่อเหตุผล ความมั่นคงปลอดภัยของสังคมประเทศชาติโดยผ่านช่องทางสื่อสาธารณะต่างๆ   
ผู้เขียนอดคิดไม่ได้ว่า “การเมืองของความกลัว” กำลังทำงานอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่  หากจะสังเกตปรากฎการณ์ของ “เรื่องราว” ความน่ากลัวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แพร่กระจายดาดดื่นในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทั้งจากภาพข่าว จากเรื่องเล่าในนิยายและเรื่องสั้นที่ปรากฎตัวอยู่มากมายบนแผงหนังสือ ไม่รวมงานเขียนเชิงวิชาการ และงานเขียนในรูปแบบอื่นๆ อีกหลากชนิดในห้วงเวลาตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2547  เป็นต้นมา
และเพราะสิ่งเหล่านี้ด้วยหรือไม่ที่ทำให้ “สถานการณ์ความรุนแรง” ในพื้นที่ยังคงได้รับการหล่อเลี้ยงให้ดำรงอยู่เพื่อสร้างความกลัว เพื่อสร้างเงื่อนไขอื่นๆ อันเป็นผลพวงของความกลัวด้วยหรือไม่ เราจะก้าวข้ามอำนาจของความกลัวนี้ไปได้อย่างไร และหากยังไม่มีใครกล้าที่จะก้าวข้าม “ความกลัว” เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงและแก้ไขให้ถูกทางอย่างกล้าหาญ แม้งานเขียนสั้นๆ ฉบับนี้จะยังไม่สามารถวิเคราะห์ “การเมืองของความกลัว”  ทำได้แค่เพียง “จั่วหัว” ไว้ แต่ผู้เขียนก็ตั้งใจว่าจะพยายามค้นหาสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองของความกลัว” ต่อไป ด้วยผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งนี้อาจมีผลต่อการดำรงอยู่ของสถานการณ์ความรุนแรง และรวมไปถึงการดำรงอยู่ของผู้คนทั้งที่เป็นคนกลุ่มน้อยนิด และคนกลุ่มอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งก็เป็นได้
และก่อนที่จะหาคำตอบให้ตัวเองว่า “กลัวหรือไม่” ผู้เขียนก็ตะลุยผ่าม่านหมอกความกลัวของใครๆ ลงพื้นที่ไปทั้ง 3 จังหวัดเรียบร้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 และบางพื้นที่ก็ไปซ้ำเป็นรอบที่สอง รอบที่สาม หรือรอบที่สี่เสียแล้ว และพบว่ายังมีมุมที่ได้พบกับความสนุกสนานและความสุขทุกครั้งกับการได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ และสังเกตชีวิตของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ว่าความรู้สึกส่วนมากของผู้เขียนในการทำงานภาคสนามจะเป็น “ความทุกข์ใจ”มากกว่ากับความคับข้องใจว่า “จะทำอย่างไรถึงจะค้นหา “คำตอบ” จากสนามวิจัยให้ได้เร็ว และครบถ้วนมากที่สุดจนลืมไปว่าผู้เขียนเองมี “ความกลัว” 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในหัวใจด้วยหรือเปล่า


“ไม่กลัวเหรอ? อยู่ยันกรุงเทพฯ ยังมาถึงที่นี่อีก ไม่มีใครเขามากันแล้ว”
“เปลี่ยนเรื่องทำได้มั้ย หรือไม่ก็ไปทำที่อื่น เก็บข้อมูลที่อื่น เหนือ อีสาน อะไรโน่น จะมาเสี่ยงทำไมที่นี่? ลูกของพี่ยังไม่อยากให้เขากลับมาอยู่นราฯ เลย”
“ทำไมต้องมาทำที่สามจังหวัดนี่ด้วย?”
“น้องกลับไปสอนหนังสือที่กรุงเทพเหมือนเดิมเถอะ อย่ามาอีกเลย มันอันตราย ไม่กลัวหรืองัย?”
“ไม่เข้าใจ ทำไมพี่เห็นเขาโฆษณาว่าเรียนปริญญาเอกสองปี สามปีจบฟังดูแล้วท่าทางมันไม่เห็นต้องมาทำอะไรยากๆ เหมือนเรา (ผู้วิจัย) ทำเลย แล้วนี่ทำไมต้องมาทำอะไรเสี่ยงๆ อย่างนี้ล่ะ น่ากลัวก็น่ากลัวนะ มันไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว”
เฮ้ย เธอจะมาทำไมอีกว้า สถานการณ์ตอนนี้มันน่ากลัวมากขึ้นอีกแล้วนะ ช่วงนี้มันชักก่อเหตุในเมืองมากขึ้น บ่อยขึ้นนะ ชั้นเองยังเสียวๆ สันหลังเลยอยู่ที่นี่น่ะ ขนาดว่าคุ้นเคยและรู้ช่องทางหนีทีไล่พอสมควรแล้วนะ”
“มีคนกลุ่มนี้อยู่ด้วยหรือ?”  
“คาทอลิกน่ะเร๊อะ! มีกี่คน จะคุ้มมั้ยกับการจะไปศึกษาน่ะ กลัวว่าจะไม่มีเหลือให้ศึกษาจนจบน่ะซิ”
ฯลฯ
สารพัดคำถาม คำทัดทาน กระทั่งคำขู่กลายๆ ทั้งจากเพื่อน พ่อแม่พี่น้องคนรอบข้าง รวมตลอดไปถึงผู้ให้ข้อมูลในสนามวิจัยจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นับตั้งแต่วันแรกที่บอกกับใครๆ ว่าจะทำวิจัยเรื่องคาทอลิกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อจะค้นหาว่า “คนกลุ่มน้อย” ต่างศาสนากลุ่มนี้ “อยู่อย่างไร?” ในขณะที่ข่าวคราวความรุนแรงทางหน้าสื่อมวลชน (mass media) ทั้งไทยและเทศโหมกระพือความรุนแรงให้แพร่สะพัด และเขย่าขวัญผู้คนที่ได้รับรู้ผ่านสื่อต่างๆ เหล่านั้นให้ถูกเกาะกุมด้วย “ความกลัว” จนบางครั้งผู้เขียนเองก็ตั้งคำถามกับตัวเองเหมือนกันว่า “กลัว” หรือเปล่า?
แน่นอนว่าในฐานะนักเรียนปริญญาเอก ที่ขาข้างหนึ่งเคยก้าวเข้าไปในอาณาบริเวณของห้องเรียนมานุษยวิทยา  แม้จะช่วงสั้นๆ แต่ก็ตระหนักว่า การเก็บข้อมูลภาคสนามเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ รวมทั้งความรู้จากห้องเรียนมานุษยวิทยาที่บอกว่า นักมานุษยวิทยานั้นนอกจากจะเป็นผู้ตั้งคำถามเพื่อค้นหาคำตอบจากผู้ให้ข้อมูลในสนามแล้ว บ่อยครั้งที่นักมานุษยวิทยาก็ถูกกลุ้มรุมด้วยคำถามจากสนามด้วย ทั้งรู้มาก่อนแล้วเลาๆ แต่เมื่อเจอกับสารพัดคำถามเข้า บางครั้งผู้เขียนเองก็อึ้ง และต้องนั่งตรึกตรองเมื่อมีโอกาส
โดยเฉพาะเมื่อตั้งกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาเป็นกลุ่มคนที่มีตัวตน มีวัฒนธรรม และวิถีชีวิตอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในฐานะที่ “คนกลุ่มน้อย” ทั้งทาง “จำนวน” และทางการนับถือ “ศาสนา” นั่นคือ กลุ่มคาทอลิกในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังไม่ค่อยมีใครรับรู้ว่ามีคนกลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ทั้งคนกลุ่มนี้ก็ดูเหมือนจะเก็บตัวเงียบๆ ไม่ประสงค์จะเผยตัวให้ใครรู้จักเท่าใดนัก
และถึงแม้ว่ากลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ สังเกตการณ์และเข้าไปมีประสบการณ์ร่วมในการใช้ชีวิตประจำวันอันดับแรกของผู้เขียนคือ กลุ่มคาทอลิกซึ่งมีจำนวนน้อยนิดมากในพื้นที่ แต่ก็ไม่เคยละเลยที่จะสังเกต และวิ่งเข้าหาโอกาสที่จะได้พูดคุยกับคนไทยพุทธ คนมุสลิมในพื้นที่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ตลาดสด ร้านน้ำชากาแฟ หน้าโรงเรียน และพื้นที่สาธารณะอื่นๆ สุดแต่ว่า “โอกาส” จะมาถึงเมื่อใด ที่ไหนก็ตามผู้เขียนจะไม่ยอมติดกับดักของความกลัวเด็ดขาด  ตรงกันข้ามความกล้าบ้าบิ่นและความกลัวว่าจะไม่ได้ข้อมูลติดมือกลับมาเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้สำเร็จเป็นแรงผลักดันให้วิ่งผ่าม่านหมอกของความกลัวไปได้ทุกครั้ง 
อย่างไรก็ดี ท่ามกลาง “ความกลัว” ของใครๆ ก็ตามที่ได้ยินเรื่องราวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้เขียนอดตั้งข้อสงสัยไม่ได้ว่า “ความกลัว” ที่เกิดขึ้นนั้นมันมี “การเมืองของความกลัว” (politics of fear) พรางกายอยู่ด้วยหรือไม่?  
ทั้งนี้ จากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน เมื่อจะเดินทางไปอำเภอสุคีริน จ.นราธิวาสเมื่อต้นปี พ.ศ. 2552 แค่เอ่ยชื่อจังหวัดนราธิวาสเพื่อถามหาตั๋วเครื่องบินเท่านั้น พนักงานขายตั๋วก็ทำท่าทางตกใจกลัวขึ้นมาทันทีและย้อนถามผู้เขียนเพื่อความแน่ใจว่า “จะไปนราธิวาสจริงๆ หรือ?” ครั้นเมื่อเดินทางกลับมาจากการเก็บข้อมูลรอบดังกล่าว ผู้เขียนอาศัยรถแท็กซี่จากสนามบินสุวรรณภูมิให้มาส่งที่บ้าน คนขับรถแท็กซี่ถามผู้เขียนว่าเดินทางมาจากไหน พอตอบคำถามไปว่ามาจากนราธิวาส เขาก็แสดงท่าทางตกใจ จ้องมองผู้เขียนทางกระจกพร้อมๆ กับบอกว่า “น่ากลัว ไปทำไม เป็นคนนราธิวาสหรือเปล่า?”
ประสบการณ์ตรงที่ผู้เขียนรู้สึก “แย่” เห็นจะเป็น เมื่อปลายเดือนมีนาคม  พ.ศ. 2554  ที่ผ่านมา เมื่อผู้เขียนไปตลาดหน้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อหาซื้อเสื้อผ้าใส่เพิ่มเติม เนื่องจากเสื้อผ้าที่นำไปไม่พอใช้  เหตุมาจากฝนที่ตกอย่างต่อเนื่อง ไม่เปิดโอกาสให้เสื้อผ้าที่ซักตากไว้ได้มีโอกาสแห้งทันใส่นั่นเอง
ที่ร้านขายเสื้อผ้าดังกล่าว เจ้าของร้านเป็นผู้หญิงไทยพุทธวัยประมาณ 40 ต้นๆ เห็นจะได้ ระหว่างที่ผู้เขียนเลือกเสื้อผ้า ผู้เขียนก็จะชวนคุยและซักถามเรื่องราวต่างๆ ไปด้วย เธอคงเห็นว่าผู้เขียนไม่ใช่คนแถวปัตตานีหรือใน 3 จังหวัดเป็นแน่ เธอจึงตั้งคำถามกลับว่า “มาจากไหน” พอผู้เขียนตอบกลับไปว่า “จากกรุงเทพฯ” เท่านั้นแหล่ะ เธอก็ระบายเรื่องราวให้ฟังเป็นชุดๆ เรื่องหนึ่งที่สะดุดใจผู้เขียนคือ “นอกจากความกลัวของคนอื่นๆ ที่มีต่อคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ยังมี “ความเกลียดชัง” ที่เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า เธอมาซื้อเสื้อผ้าจากกรุงเทพฯ เพื่อนำมาขายที่ปัตตานี แม่ค้าที่ประตูน้ำถามเธอว่าจะเอาไปขายที่ไหน พอเธอตอบว่า จะเอาไปขายที่ปัตตานี เท่านั้นแหล่ะ แม่ค้าร้านที่เธอจะซื้อเสื้อผ้าก็บอกว่า “พวกตัวสร้างปัญหาให้ประเทศชาติ พวกก่อความเดือนร้อนวุ่นวายให้ประเทศ ดูซิงบประมาณแทนที่จะมาพัฒนาประเทศต้องไปทุ่มให้สามจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาผู้ก่อการแบ่งแยกดินแดน อยู่เมืองไทยสบายๆ ไม่เอา ถ้าไม่อยากอยู่เมืองไทยก็ไปอยู่ที่อื่น”  (แม่ค้า 27 มีนาคม 2554)
เรื่องเล่าจากปากของแม่ค้าขายเสื้อผ้าจากปัตตานีคนเดิมอีกเรื่องหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นม่านความกลัวที่ปกคลุมไม่เพียงผู้คนที่อยู่ภายนอกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ถูกติดป้ายว่าเป็นดินแดนแห่งความรุนแรงเท่านั้น  เธอเล่าว่า “ทุกวันนี้ พวกเด็กมุสลิมสาวๆ ในปัตตานีนี่ก็กลัวเหมือนกัน กลัวไม่ได้งาน เดี๋ยวนี้หลายคนพอเรียนจบจะไปสมัครงาน เขาจะมาซื้อเสื้อผ้าชุดทำงานที่ร้านพี่และร้านคนไทยพุทธอื่นๆ ซื้อกระโปรงสั้นๆ เลยนะ แล้วเวลาไปสมัครงานเขาก็จะถอดผ้าคลุมออก เพราะถ้าใส่ไปแล้วไม่ค่อยมีใครอยากจะรับเข้าทำงานหรอก แล้วพวกนี้เขาก็จะไปสมัครงานแถวๆ หาดใหญ่กันเยอะ เวลาไปสมัครงานเห็นเขาแต่งตัวแล้วต้องตกใจแหล่ะ นุ่งกระโปรงสั้นๆ (เน้นเสียง) แล้วก็ไม่คลุมผ้า บางทีคนที่พี่สนิทๆ กับเขาด้วย พี่ก็ถามเขาเหมือนกันว่าทำไมไม่คลุมผ้า แล้วนุ่งสั้นๆ อย่างนั้นมันผิดไม่ใช่เหรอ แต่เขาบอกว่า ถ้าไม่แต่งตัวอย่างนี้ก็ไม่ได้งานหรอก ใครๆ เขาก็กลัวมุสลิม กลัวคนในสามจังหวัดนี่กันทั้งนั้น เด็กๆ เขาบอกมาอย่างนั้นน่ะ พี่ก็เออเข้าใจ เพราะเวลาเขามาซื้อผ้าที่ร้านพี่ เขาจะถามหากระโปรงแบบสั้นมากๆ จนพี่ก็อดถามไม่ได้น่ะ”
“ความกลัว” ที่แม้แต่ชื่อของจังหวัดใดจังหวัดหนึ่งในสามที่เอ่ยเอื้อนขึ้นมาครา ก็ทำเองขวัญและกำลังใจของผู้ฟังต้องสั่นสะเทือนด้วยแทบทุกผู้คนนั้น ใครสร้างขึ้นมา และมันดำรงอยู่อย่างไร ทั้งยังน่าสงสัยอีกว่า ผลที่เกิดจากการสร้างความกลัวนั้น นอกจากทางจิตวิทยาแล้ว ผลในทางการเมืองด้านอื่นๆ มีหรือไม่ อย่างไร เพราะความในใจของแม่ค้าขายเสื้อผ้าที่บ่งบอกว่า “ความกลัว” นำไปสู่อย่างน้อยก็ “ความเกลียดชัง” ทั้งๆ ที่ไม่ได้รู้จักกันมาก่อน อย่าว่าจะสร้างความขัดแย้งต่อกัน กรณีของแม่ค้าเสื้อผ้าจากปัตตานีรายนี้เธอเป็นผู้แลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับแม่ค้าที่ประตูน้ำด้วยซ้ำไป และเรื่องเล่าเรื่องที่สองสะท้อนให้เห็นอีกมุมหนึ่งของ “ความกลัว” ในลักษณะที่มันมีอำนาจ และมีผลก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้สามารถดำรงอยู่ได้ โดยเฉพาะการยอมสละทิ้งอัตลักษณ์ของหญิงมุสลิม ที่พวกเธอต้องยอมละเมิดต่อกฎเกณฑ์ข้อบังคับทางศาสนาบางอย่างเป็นการชั่วคราวเพื่อนายจ้างจะได้ไม่ “กลัว” พวกเธอ และจะรับพวกเธอเข้าทำงาน

การเมืองของความกลัว (Politics of Fear)
เมื่อกล่าวถึง “ความกลัว” Frank Furedi บอกว่า “ความกลัว” มีอิทธิพลครอบงำชี้นำชีวิตทางสังคมของผู้คนได้ และการเมืองของความกลัวเป็นอาการของโรคชนิดหนึ่งที่บ่งบอกลักษณะของความอ่อนแอและหลบลี้หนีออกจากชีวิตทางสังคมการเมือง (Frank Furedi, 2005)
David L. Altheide (2006) เขียน “Terrorism and the Politics of Fear” เอาไว้โดยเฉพาะในประเด็นที่เขาตั้งคำถามว่า “ความกลัว” ถูกประกอบสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ เป็นเงื่อนไขของบรรดาผู้นำทางการเมืองในการสร้างความชอบธรรมในการออกกฎเกณฑ์ มาตรการ หรือนโยบายต่างๆ เพื่อควบคุมสังคม ความเป็นอยู่ของผู้คนพลเมือง และวัฒนธรรม  โดยที่ผู้คนในสังคมยินยอมที่จะตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านั้นเพื่อเหตุผล ความมั่นคงปลอดภัยของสังคมประเทศชาติโดยผ่านช่องทางสื่อสาธารณะต่างๆ   
ผู้เขียนอดคิดไม่ได้ว่า “การเมืองของความกลัว” กำลังทำงานอยู่ในสังคมไทยโดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่  หากจะสังเกตปรากฎการณ์ของ “เรื่องราว” ความน่ากลัวของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่แพร่กระจายดาดดื่นในพื้นที่สาธารณะต่างๆ ทั้งจากภาพข่าว จากเรื่องเล่าในนิยายและเรื่องสั้นที่ปรากฎตัวอยู่มากมายบนแผงหนังสือ ไม่รวมงานเขียนเชิงวิชาการ และงานเขียนในรูปแบบอื่นๆ อีกหลากชนิดในห้วงเวลาตั้งแต่หลังปี พ.ศ. 2547  เป็นต้นมา
และเพราะสิ่งเหล่านี้ด้วยหรือไม่ที่ทำให้ “สถานการณ์ความรุนแรง” ในพื้นที่ยังคงได้รับการหล่อเลี้ยงให้ดำรงอยู่เพื่อสร้างความกลัว เพื่อสร้างเงื่อนไขอื่นๆ อันเป็นผลพวงของความกลัวด้วยหรือไม่ เราจะก้าวข้ามอำนาจของความกลัวนี้ไปได้อย่างไร และหากยังไม่มีใครกล้าที่จะก้าวข้าม “ความกลัว” เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงและแก้ไขให้ถูกทางอย่างกล้าหาญ แม้งานเขียนสั้นๆ ฉบับนี้จะยังไม่สามารถวิเคราะห์ “การเมืองของความกลัว”  ทำได้แค่เพียง “จั่วหัว” ไว้ แต่ผู้เขียนก็ตั้งใจว่าจะพยายามค้นหาสิ่งที่เรียกว่า “การเมืองของความกลัว” ต่อไป ด้วยผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งนี้อาจมีผลต่อการดำรงอยู่ของสถานการณ์ความรุนแรง และรวมไปถึงการดำรงอยู่ของผู้คนทั้งที่เป็นคนกลุ่มน้อยนิด และคนกลุ่มอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งก็เป็นได้
และก่อนที่จะหาคำตอบให้ตัวเองว่า “กลัวหรือไม่” ผู้เขียนก็ตะลุยผ่าม่านหมอกความกลัวของใครๆ ลงพื้นที่ไปทั้ง 3 จังหวัดเรียบร้อยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2553 และบางพื้นที่ก็ไปซ้ำเป็นรอบที่สอง รอบที่สาม หรือรอบที่สี่เสียแล้ว และพบว่ายังมีมุมที่ได้พบกับความสนุกสนานและความสุขทุกครั้งกับการได้ลงพื้นที่ไปเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ และสังเกตชีวิตของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แม้ว่าความรู้สึกส่วนมากของผู้เขียนในการทำงานภาคสนามจะเป็น “ความทุกข์ใจ”มากกว่ากับความคับข้องใจว่า “จะทำอย่างไรถึงจะค้นหา “คำตอบ” จากสนามวิจัยให้ได้เร็ว และครบถ้วนมากที่สุดจนลืมไปว่าผู้เขียนเองมี “ความกลัว” 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในหัวใจด้วยหรือเปล่า

การอ้างอิง
[1] นักศึกษาปริญญาเอกโครงการสหวิทยาการ (Ph.D Candidate) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แม้ว่างานเขียนฉบับนี้จะมาจากส่วนหนึ่งของประสบการณ์การทำงานภาคสนามของผู้เขียนเพื่อประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของผู้เขียนภายใต้การให้คำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คือ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมคือ อาจารย์ ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล  ซึ่งผู้เขียนขอบพระคุณทั้งสองท่านสำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในเชิงวิชาการ  อย่างไรก็ดีงานเขียนชิ้นนี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในภาคสนามซึ่งเพียงทดลองเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากงานเขียนฉบับนี้อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในขนบของการทำงานวิจัยภาคสนาม การวิเคราะห์ หรืออื่นใดก็ตามล้วนเป็นความผิดพลาดของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
[2] Frank Furedi.(2005). Politics of Fear : Beyond Left and Right. London:Continuum International Publishing Group. Foreword 1-2, p.123-142.
[3] David L. Altheide (2006). Terrorism and the Politics of Fear.  UK: AltaMaria Press.
การอ้างอิง
[1] นักศึกษาปริญญาเอกโครงการสหวิทยาการ (Ph.D Candidate) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. แม้ว่างานเขียนฉบับนี้จะมาจากส่วนหนึ่งของประสบการณ์การทำงานภาคสนามของผู้เขียนเพื่อประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของผู้เขียนภายใต้การให้คำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คือ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมคือ อาจารย์ ดร.สายพิณ ศุพุทธมงคล  ซึ่งผู้เขียนขอบพระคุณทั้งสองท่านสำหรับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในเชิงวิชาการ  อย่างไรก็ดีงานเขียนชิ้นนี้เป็นประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในภาคสนามซึ่งเพียงทดลองเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น ความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นจากงานเขียนฉบับนี้อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในขนบของการทำงานวิจัยภาคสนาม การวิเคราะห์ หรืออื่นใดก็ตามล้วนเป็นความผิดพลาดของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น
[2] Frank Furedi.(2005). Politics of Fear : Beyond Left and Right. London:Continuum International Publishing Group. Foreword 1-2, p.123-142.

[3] David L. Altheide (2006). Terrorism and the Politics of Fear.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น